mook-naja34

วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2551

สหภาพยุโรป

สหภาพยุโรป (European Union) หรือที่เรียกอย่างย่อว่า อียู (EU) เป็นองค์การระหว่างประเทศ ที่ประกอบด้วยรัฐในยุโรป 27รัฐ ก่อตั้งโดยสนธิสัญญาสหภาพยุโรป (สนธิสัญญามาสทริกต์) (Maastricht treaty) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม

อำนาจทั้งสามของสหภาพยุโรป
สภายุโรป (European Parliament): เสียงจากประชาชน
รัฐสภายุโรปสมาชิกสภายุโรปได้รับเลือกตั้งโดยตรงทุก ๆ 5 ปีจากแต่ละประเทศสมาชิก ปัจจุบันมีสมาชิก 732 คนจาก 25 ประเทศ โดยในจำนวนนี้เป็นผู้หญิงเกือบหนึ่งในสาม (222 คน) แม้สมาชิกแต่ละคนจะมาจากรัฐสมาชิก แต่การจัดกลุ่มภายในรัฐสภานั้นไม่ได้แบ่งตามสัญชาติ แต่แบ่งโดยทิศทางของพรรคการเมือง กลุ่มที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ พรรคประชาชนยุโรป (European’s People Party) และพรรคประชาธิปไตยยุโรป (European Democrats) ตามมาด้วยกลุ่มสังคมนิยม เสรีนิยม และอนุรักษ์ธรรมชาตินิยม (Greens) ที่ทำการรัฐสภายุโรปตั้งอยู่ในสองเมืองคือ สตราสบูร์ก (Strasbourg) ประเทศฝรั่งเศส และบรัสเซลส์ (Brussels) ประเทศเบลเยียม โดยประธานสภาคนปัจจุบันคือนายโคเซป บอร์เรย์ (Josep Borrell) ชาวสเปน ภารกิจหลักของสภายุโรปจะเป็นการร่วมตัดสินใจกับคณะมนตรีในประเด็นต่างๆ ได้แก่ การพิจารณาร่างกฎหมายของสหภาพซึ่งริเริ่มโดยคณะกรรมาธิการ (แต่กลับไม่สามารถเสนอร่างกฎหมายเองเหมือนฝ่ายนิติบัญญัติภายในประเทศได้ ภาวะนี้ถูกเรียกว่าการขาดดุลประชาธิปไตย (democratic deficit) การอนุมัติงบประมาณของสหภาพยุโรป ให้การรับรองความตกลงระหว่างประเทศ (สนธิสัญญา) ของสหภาพยุโรปกับประเทศนอกกลุ่ม (เช่น ข้อตกลงทางการค้า หรือ การเปิดรับสมาชิกใหม่) และที่สำคัญที่สุดคือการให้การรับรองผู้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการยุโรป (ทั้งกรรมาธิการ และประธาน)

คณะมนตรียุโรป (Council of Ministers): เสียงจากรัฐสมาชิก
สมาชิกคณะมนตรีประกอบด้วยรัฐมนตรีหรือผู้แทนรัฐบาลจากทุกประเทศสมาชิก ในการประชุมแต่ละครั้งจะมีรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบเรื่องนั้น ๆ เข้าร่วม (รวม 25 คนจากแต่ละประเทศ) เช่น การต่างประเทศ เกษตรกรรม คมนาคม เศรษฐกิจและการเงิน และพลังงาน เป็นต้น หากเป็นการประชุมตัดสินใจประเด็นสำคัญๆก็จะเป็นการประชุมในระดับประมุขของประเทศ โดยจะมีการประชุมสุดยอด (summit) สี่ครั้งต่อปีเพื่อกำหนดทิศทางนโยบายของสหภาพยุโรป แต่ละประเทศจะมีเสียงโหวตแตกต่างกันตามสัดส่วนจำนวนประชากร การตัดสินใจส่วนใหญ่ใช้แบบเสียงข้างมาก (majority) ในขณะที่ประเด็นสำคัญจะใช้ระบบการโหวตแบบเอกฉันท์ (unanimity) คณะมนตรีถือเป็นองค์กรหลักในด้านนิติบัญญัติและด้านการตัดสินใจชี้ขาดของสหภาพยุโรป โดยจะประสานงานกับรัฐสภาในการพิจารณาร่างกฎหมายดังได้กล่าวแล้ว นอกจากนั้นยังเป็นผู้รับผิดชอบด้านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงร่วมกัน (CFSP: Common Foreign and Security Policy) รวมถึงภารกิจเกี่ยวกับการเปิดเสรีสินค้า บริการ เงินทุน รวมถึงประชาชนด้วย


คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission): กลจักรหลักของสหภาพยุโรป
คณะกรรมาธิการเป็นตัวแทนและปกป้องผลประโยชน์ของสหภาพยุโรป โดยเป็นอิสระจากรัฐบาลของแต่ละชาติ คณะกรรมาธิการประกอบด้วยกรรมาธิกร (commissioner) 25 คนจากแต่ละประเทศสมาชิกตามความเชี่ยวชาญโดยจะทำงานร่วมกับข้ารัฐการราว 24,000 คน มีสำนักงานอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ประธานคณะกรรมาธิการจะได้รับการเลือกจากรัฐบาลของประเทศสมาชิกและจะต้องได้รับการรับรองจากรัฐสภา ส่วนกรรมาธิการคนอื่น ๆ จะได้รับการแต่งตั้งจากรัฐสมาชิกและต้องได้รับการรับรองจากรัฐสภาเช่นกัน มีวาระคราวละ 5 ปี โดยประธานคณะกรรมาธิการคนปัจจุบันคือนายโฮเซ มานูเอล ดูเรา บาร์โรโซ (José Manuel Durao Barroso) ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของโปรตุเกสด้วย

ภารกิจหลักของคณะกรรมาธิการคือการเสนอร่างกฎหมาย นอกจากนั้นยังดูแลการบริหารงบประมาณของสหภาพยุโรป กรรมาธิการแต่ละคนมีหน้าที่รับผิดชอบคนละด้าน แต่ละคนมีเจ้าหน้าที่และองค์กรย่อยอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของตน เปรียบเทียบได้ว่ากรรมาธิการแต่ละคนคือรัฐมนตรีซึ่งต้องดูแลกระทรวง ทบวง กรมของตนนั่นเอง

ศาลยุติธรรมแห่งยุโรป (European Court of Justice): อำนาจตุลาการ
องค์คณะผู้พิพากษาประกอบด้วยผู้พิพากษาจากแต่ละประเทศสมาชิกรวม 25 คน มีสำนักงานอยู่ที่ประเทศลักเซมเบิร์ก หน้าที่หลักของศาลคือการบังคับใช้ และการตีความกฎหมายเพื่อพิจารณาและชี้ขาดว่ากฎหมายของสหภาพยุโรปได้รับการปรับใช้เหมือนกันในทุกประเทศสมาชิกหรือไม่ พลเมืองของสหภาพยุโรปสามารถยื่นเรื่องฟ้องต่อศาลได้หากสถาบันต่างๆ ของสหภาพยุโรปมีการดำเนินการ

ประเทศสมาชิก

25มีนาคม พ.ศ.2495(ค.ศ. 1952) เบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมนีตะวันตก อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ (สมาชิกก่อตั้ง) 6
1 มกราคม พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร 9
1 มกราคม พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) กรีซ 10
1 มกราคม พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) โปรตุเกส สเปน 12
3 ตุลาคม พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) เยอรมนีตะวันออกรวมกับเยอรมนีตะวันตกเป็นเยอรมนี 12
1 มกราคม พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) ออสเตรีย ฟินแลนด์ สวีเดน 15
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลต โปแลนด์ สโวาเกีย สโลวีเนีย 25
1 มกราคม พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) บัลแกเรีย โรมาเนีย 27

+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+



วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2551





Pour la pâte à crêpes:

10 cl de crème fraîche liquide uht
1 cuil. à soupe d'eau de rose
1 cuil. à café d'huile
20 cl de laitQuelques gouttes de colorant alimentaire rouge
120 g de farine fluide Francine
1 pincée de sel
1 cuil. à café de sucre en poudre
2 œufs
30 g de beurre fondu


Pour la garniture:

50 cl de lait
2 œufs
60 g de sucre
60 g de farine fluide Francine
32 framboises
12 macarons à la framboise


Pour la pâte à crêpes:
125 g de farine fluide Francine
2 œufs
30 g de beurre fondu
85 g de sucre
2 cuil. à soupe de sucre vanillé
1 pincée de sel
1 cuil. à soupe d'huile d'arachide
42,5 cl de lait
Pour la garniture:
3 bananes
1 citron vert
1 pincée de noix de muscade
Pour le caramel au beurre salé:
120 g de sucre semoule
300 g de crème liquide (tièdie)
50 g de beurre frais
1 pincée de fleur de sel
+-+-+-+-+รู้สึกหิวจัง+-+-+-+-+

วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Futur proche


Futur proche


เป็นรูปแบบการแสดงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นใน... อนาคตอันใกล้


รูปแบบ



ตัวอย่าง
Je vais aller à l’école.ฉันจะไปโรงเรียน
Tu vas manger.เธอจะกิน
Il/elle va comprendre.เขาจะเข้าใจ
Nous allons rentrer.เราจะกลับบ้าน
Vous allez lire.คุณจะอ่าน
Ils/elles vont terminer le travail.พวกเขาจะทำงานให้เสร็จ



+-+-+-+-+-+-+-+-+-+-+

วันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Napoleon&Wellington - สงครามปิดฉากฝรั่งเศส

ต่อจากตอนที่แล้วนะครับ หลังจากที่นโปเลียนชนะที่ศึก Austerlitz แล้วนั้นทำให้เขามองว่าตัวเขายิ่งใหญ่มาก มีแค่ 2 ประเทศเท่านั้นที่เป็นเสี้ยนหนามคือ อังกฤษและรัสเซีย ฝรั่งเศสนั้นไม่สามารถทำอะไรอังกฤษได้เพราะว่าแพ้สงครามแก่ เนลสัน ที่ศึก Trafalgar ก็เลยใช้นโยบายไม่คบอังกฤษเพื่อให้ยุโรปตัดขาดจากอังกฤษในด้านการค้าทั้งหลาย แต่อังกฤษแคร์ที่ไหน ไม่คบยุโรปก็ได้ก็เลยไปคบอเมริกาแทนก็เลยค้าขายกับดินแดนอาณานิคมอย่างอเมริกา แอฟริกาแทน ส่วนประเทศอื่นๆก็กลัวนโปเลียนยึดเลยดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสซะนิ ยิ่งออสเตรียยิ่งเกลียดนโปเลียนมากเพราะมาถึงก็จับเจ้าหญิงมาเรีย หลุสย์ มาเป็นภรรยา แล้วก็มาทำห้องตัวเองในพระราชวังเชิงบุงอีก แบบว่าไม่ได้รับเชิญเลย
ถามว่าคนชอบนโปเลียนไหม แรกๆก็คงชอบเพราะว่าเขาพยายามสู้ด้วยอุดมการณ์ประชาธิปไตยไปทุกแห่งหน ขนาดที่ Bethoven นักประพันธ์ดนตรีที่ยิ่งใหญ่ยังแต่งเพลงสดุดีในอุดมการณ์นี้ แต่นโปเลียนก็ดันมาตั้งตัวเองเป็นจักรพรรดิ์ซะนิ คนก็เลยไม่ชอบอะ เหมือนบอกว่าจะมาแก้ปัญหาให้ประเทศเมื่อได้อำนาจ แต่พอได้อำนาจก็บ้าอำนาจยึดโน้นยึดนี่ทำตามใจตัวเองซะงั้น ตั้งเครือญาติให้มีอำนาจในการปกครองในเรื่องต่างๆ เช่นส่งน้องชายเป็นกษัตริย์ของสเปน
นโปเลียนเกิดบ้าบุกรัสเซียเพราะรัสเซียไม่เล่นด้วยกับการที่จะร่วมมือกับฝรั่งเศสบุกอังกฤษ นโปเลียนใช้ทหารไปมากกว่าครึ่งล้านยกทัพไปมอสโคว แต่ทางฝ่ายรัสเซียนั้นก็ต้อนทหารฝรั่งเศสเข้าไปตายกับความหนาว โดยเผากรุงมอสโควทิ้ง นโปเลียนก็ไปได้แค่ยึดเถ่าถ่าน ส่วนทหารก็ตายเกือบหมดไปกับอากาศหนาวสุดขั่วโลกในรัสเซีย แถมยังโดนรัสเซียบุกอีกซะเนี่ย นโปเลียนเลยถอยทัพไปเรื่อยๆเพื่อหนีกลับปารีส
เมื่อข่าวนโปเลียนแพ้แพร่กระจายไป ประเทศพันธมิตรนโปเลียนที่แค้นเคืองก็เตรียมรอรับการเหยียบซ้ำอยู่แล้วก็เลยไล่ล่าไปจนถึงเขตแดนเยอรมันนีในปัจจุบันเป็นสมรภูมิ Lepzigหรือที่เรียกว่า สมรภูมินานาชาติ มีกองทัพหลายประเทศตามมากระทืบนโปเลียนแม้จะหนีลูกน้องและทิ้งกองทัพกลับมาปารีสได้ แต่กองทัพต่างชาติก็บุกมาจับเข้าได้ถึงที่เลยละครับ เขาพยายามจะกินยาตายแต่ดันไม่ตายซะนิ



อนุสรณ์กองทัพนานาชาติกระทืบซ้ำจนชนะนโปเลียนที่ Leizig

พอเห็นงี้แล้วมันเหมือนกับฮิตเลอร์เลย บุกอังกฤษไม่ได้ พอบุกรัสเซียก็แพ้ทำให้เยอรมันแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง แต่ฮิตเลอร์อาจจะโชคดีกว่านโปเลียนที่เขากินยาแล้วตาย ฮาๆ
นโปเลียนถูกจับส่งไปอยู่ที่เกาะ เอลบ้า แต่เขาก็หนีกลับมาได้ซะงั้น โดยกษัตริย์ฝรั่งเศสต้องยอมคืนบัลลังให้เขา เขาเตรียมล้างแค้นเช่นเดิมโดยการบุกดินแดนยุโรป


สงครามครั้งสุดท้ายในช่วง 100 วันในอำนาจของเขาเกิดขึ้นที่ สมรภูมิ Waterloo ชื่อ Waterloo กับ Wellington นี้ก็เป็นชื่อที่คนอังกฤษชอบๆๆๆ เอามาตั้งชื่อ สถานีรถไฟ ชื่อร้านขายของ ร้านอาหาร เอามาตั้งชื่อเมืองที่นิวซีแลนด์ (ก็ชนะนโปเลียนอะ) แต่ความจริงแล้วมันเป็นดินแดนของเบลเยี่ยม อังกฤษไม่รีรอที่จะช่วยเบลเยี่ยมหรอก เพราะการยึดประเทศเล็กๆแถวนี้ได้ก็เหมือนว่าอังกฤษมีภัยจากกองทัพฝรั่งเศสที่จะยกพลขึ้นบกที่อังกฤษได้อีก


นโปเลียนต้องเจอกับวีระบุรุษของอังกฤษอีกคนครับชื่อ เวลลิงตั้น ครับ คนนี้เตรียมรอรับศึกนโปเลียนใน Waterloo อยู่แล้ว แรกเริ่มนั้นนโปเลียนได้ชนะกองทัพเยอะมันก่อนแต่เมื่อมาเจออังกฤษและยุทธวิธีการรบของเวลลิงตั้นแล้วก็จอดไปเหมือนกัน พอนโปเลียนใกล้แพ้กองทัพเยอรมันที่แพ้นโปเลียนไปก็ตามมากระทืบซ้ำ นโปเลียนไม่มีทางเลือกหนีกลับปารีสไปอีหรอบเดิม คราวนี้อังกฤษตามไปจับอีกรอบแล้วก็นำไปขังไว้ที่เกาะ St Helena ซึ่งเป็นที่ ที่นโปเลียนอยู่จนตาย



เวลลิงตั้นนั้นก็เป็นวีระบุรุษของคนอังกฤษไปโดยปริยาย มีการสร้างพื้นที่สวนสาธารณะและประตูชัยที่ชนะนโปเลียนบริเวรนั้นเรียน Wellington Arch อยู่ในใจกลางกรุงลอนดอน แถวนั้นจะมีถนน 2 เส้นที่เป็นที่อยู่ของคนไฮโซแสนแพงชื่อ Piccadilly road กับ Governor road ที่แม้แต่คนรวยก็ยังอยู่ไม่ได้ จะต้องรวยแบบโ-ค-ต-ร รวยแบบ Billionaire เท่านั้นแต่ยังมีอีกที่ที่อังกฤษสร้างประตูชัยไว้คือ Marble Arch ฉลองครบคู่ Nelson&Wellington ด้วยครับ



บ้านเวลลิงตั้นก็ตั้งอยู่ในถนน Piccadilly road ครับ บ้านเลขที่ 1 ชื่อว่าบ้าน Apsleyเลยละ แต่สมัยนี้มันเปลี่ยนเบอร์ไปละ แล้วบ้านเวลลิงตั้นในตอนหลังเขาบริจาคให้เป็นพิพิธภัณฑ์

m.tokiya R-Raven Scrollbars By DollieLove.Com r-raven
ฟังเพลง - Friendship Forever