mook-naja34

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2551

+-+-+-+-+-+-+

จากที่สอบไปวันนี้รุ้สึกว่าตัวเองทำข้อสอบได้แย่มากเห่อ
จะพยายามให้ดีกว่านี้

L'imparfait

เป็น temps หนึ่งในอดีตที่เกิดขึ้นในระยะเวลาหนึ่ง
วิธีผัน ใช้กริยาใน temps present ของประธาน Nous มาเป็นหลักในการกระจาย ตัด ons ทิ้งแล้วเติมท้ายดังนี้

Je = ais
Tu = ais
Il = ait
Elle = ait
Nous = ions
Vous =iez
Ils = aient
Elles = aient


+++++++++++++++

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551

สิลป์ พีระศรี

ประวัติ
นาย ศิลป์ พีระศรี หรือ นาย คอร์ราโด เฟโรจี เกิดเมื่อวันที่ 15 ก.ย.2435 ณ ตำบลซานตา จิโอวานี นครฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ในครอบครัวซึ่งประกอบอาชีพค้าขาย บิดาคือ นายอาทูโด เฟโรจี มารดาคือ นางซานตินา เฟโรจี มิได้ส่งเสริมหรือให้ความสนใจทางด้านศิลปะมากนัก แต่ด้วยพรสวรรค์และความสนใจ ส่วนตัวได้นำเด็กชายผู้นี้เข้าศึกษาทางด้านศิลปะ จวบจนกระทั่งจบการศึกษาจากสถาบันศิลปะชั้นสูง แห่งนครฟลอเรนซ์ และได้รับการยกย่องให้เป็นศาสตราจารย์สอนศิลปะที่สถาบันแห่งนั้นตั้งแต่อายุเพียง 23 ปี ในปี พ.ศ.2466 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์รับนายช่างผู้มีฝีมือดีเข้ามาทำงานให้กับประเทศ รัฐบาลไทยจึงได้ตกลงกับรัฐบาลอิตาลีเพื่อดำเนินการคัดเลือกนายช่างผู้มีความสามารถ ศาสตราจารย์ คอร์ราโด เฟโรจี เป็นผู้ผ่านการคัดเลือกจากรัฐบาลอิตาลี จากนั้นท่านจึงเดินทางมาเมืองไทยพร้อมกับนางแฟนนี่ ผู้เป็นภรรยา และอิซาเบล่า บุตรสาว เพื่อเข้าดำรงตำแหน่งนายช่างปั้น สังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัง ท่านได้พิสูจน์ถึงอัจริยภาพทางด้านงานปั้นให้เป็นที่ประจักษ์ด้วยการปั้นรูปเหมือนสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งทำให้ท่านได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้ออกแบบและปั้นอนุสาวรีย์ที่สำคัญของประเทศเรื่อยมา จนกระทั่งได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ช่างปั้นหล่อ แผนกศิลปากรสถานแห่งราชบัณฑิตยสภา ในขณะนั้นรัฐบาลได้มีนโยบายดำเนินการก่อสร้างอนุสาวรีย์ เพื่อติดตั้งตามหัวเมืองต่าง ๆ ศาสตราจารย์ คอร์ราโด จึงต้องรับภาระงานอย่างหนักเพียงลำพัง ด้วยเหตุนี้ในปีพ.ศ.2476 ท่านจึงริเริ่มให้มีการจัดตั้งโรงเรียนศิลปะแห่งแรกขึ้นในประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อผลิตบุคลากรผู้มีความชำนาญในงาน ปั้นมาสรรค์สร้างอนุสาวรีย์ของชาติ โรงเรียนศิลปากรแผนกช่างจึงถือกำเนิดขึ้น ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนประณีตศิลปกรรม และยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร ในปีพ.ศ.2486 โดยมีศาสตราจารย์ คอร์ราโด ดำรงตำแหน่งคณบดีประติมากรรมคนแรกของมหาวิทยาลัย ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ประเทศอิตาลียอมแพ้สงครามแก่ฝ่ายสัมพันธมิตร ชาวอิตาเลียนในประเทศไทยจึงตกเป็นเชลยของประเทศเยอรมันและญี่ปุ่น ด้วยเหตุผลทางการเมือง หลวงวิจิตรวาทการจึงดำเนินการทำเรื่องขอโอนสัญชาติ นาย คอร์ราโด เฟโรจี มาเป็นสัญชาติไทย และเปลี่ยนชื่อเป็น "นาย สิลป์ พีระศรี" ในเดือนมกราคม พ.ศ.2487 เพื่อคุ้มครองท่านไว้ ไม่ให้ต้องถูกเกณฑ์ไปเป็นเชลยศึกในการสร้างทางรถไฟสายมรณะ และสะพานข้ามแม่น้ำแควที่กาญจนบุรี ต่อมาชื่อของท่านเป็นที่รู้จักกันในนามศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี บั้นปลายของชีวิตท่านได้สมรสกับภรรยาคนไทยชื่อนางสาว มาลินี เคนนี ภายหลังจากแยกทางจากนางแฟนนี่ ภรรยาชาวอิตาเลียนได้ระยะหนึ่ง จนกระทั่งวาระสุดท้ายแห่งชีวิต ท่านจากไปด้วยโรคมะเร็ง ที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 14 พ.ค.2505 ตลอดชีวิตของ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ได้อุทิศตนเพื่อศิลปะ อาทิเช่น ท่านเป็นผู้ริเริ่มให้มีการจัดงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติขึ้น ในปีพ.ศ.2492 ทั้งนี้เพื่อเผยแพร่ผลงานศิลปกรรมร่วมสมัยในระดับประเทศของไทย และเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน ตลอดจนเป็นการกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในวงการศิลปะ รวมถึงเป็นผู้แทนศิลปินนำผลงานศิลปะร่วมสมัยของไทยไปเผยแพร่สู่นานาอารยประเทศ ในงานแสดงศิลปกรรมที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสมาคมศิลปะแห่งชาติ ซึ่งถือเป็นหน้าที่อันทรงเกียรติ และในปีพ.ศ.2497 ได้เป็นผู้แทนศิลปินไทยไปร่วมประชุมศิลปินระหว่างชาติที่ประเทศออสเตรีย ในครั้งนั้นท่านได้นำเอกสารผลงานศิลปะและบทความศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทยไปเผยแพร่ ซึ่งทำให้นานาชาติรู้จักประเทศไทยมากขึ้น ผลงานการสร้างสรรค์ประติมากรรมและอนุสาวรีย์ชิ้นสำคัญ เช่น พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประดิษฐานอยู่ที่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ กรุงเทพฯ พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประดิษฐานอยู่ที่วงเวียนใหญ่ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ประดิษฐานอยู่ที่อนุสาวรีย์ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นต้น ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ถือเป็นผู้ที่เสียสละและอุทิศตนเพื่องานศิลปะของชาติ โดยเป็นผู้ที่ทำให้วงการศิลปะของไทยเริ่มต้นย่างก้าวสู่รูปแบบที่เป็นสากล ด้วยการนำความรู้ทางด้านศิลปะตามหลักวิชาการแบบตะวันตกมาเป็นแนวทางในการวางรากฐานการศึกษาในมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อผลิตศิลปินรุ่นใหม่ขึ้นตอบสนองตามความต้องการของรัฐบาลและสังคมในยุคสมัยนั้น ซึ่งก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวและการศึกษาทางด้านศิลปะในเวลาต่อมา ตลอดจนเป็นผู้ที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดทางด้านศิลปะระหว่างศิลปินไทยและศิลปินต่างประเทศ จึงถือว่าศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้บุกเบิกแห่งการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมสมัยใหม่ ศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทยอย่างแท้จริง

วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2551

Vocabulaire parlementaire +++ คำศัพท์รัฐสภา

1.loi (n.f.) = กฎหมาย
2.question (n.f.) = กระทู้ถาม
3.réunion à huis clos (n.f.) = การประชุมลับ
4.amender (v.) = การลงคะแนนเสียง
5.scrutin (n.m.) = แก้ไขเพิ่มเติม
6.absence (n.f.) = ขาดประชุมสภา
7.voix (n.f.) = คะแนนเสียง
8.tirer au sort (v.) = จับสลาก
9.motion (n.f.) = ญัตติ
10.légiférer (v.) = ตราพระราชบัญญัติ


++++++++++++++++++++++++++++++++

วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2551

+++++++

- avoir raison = (คิด, ทำ, พูด) ถูกต้อง

- avoir tort = (คิด, ทำ, พูด) ผิด

-avoir sa (ses) raison(s) = มีเหตุผลของตน

- faire cette tête = ทำหน้าตาเช่นนั้น, ทำหน้าตาแปลกใจ

- faire la tête = ทำหน้าบึ้ง, ไม่พอใจ

-être étonné = รู้สึกประหลาดใจ


+++++++++++++++++++

วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2551

วันครู

......แสงสาดส่องจากแม่พิมพ์อันน้อยใหญ่......
......เปรียบครูไทยทั่วทุกทิศที่พร่ำสอน......
......ฝึกหัดศิษย์เขียนอ่านชาญบทกลอน......
.....มิเกี่ยงงอนงานหนักเบาที่เข้ามา........
.....แม้เหนื่อยยากเท่าใดไม่เคยบ่น.......
.......หวังให้ศิษย์ทุกคนมีการศึกษา......
.......เป็นกำลังสร้างชาติไทยวัฒนา......
........ปวงประชาภูมิใจให้เกียรติครู.......



ขอบพระคุณคุณครูที่คอยสั่งสอนศิษย์ให้เป็นคนดี

วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2551

Dormir, à quoi ça sert ?

Dormir, à quoi ça sert ?


Tu grandis en dormant ! Ton corps se répare et se construit. Durant le sommeil, ton cerveau produit une substance qu'on appelle l'hormone de croissance qui t'aide à grandir
Pas de bonne mémoire sans un bon sommeil ! Pendant le sommeil, tu ranges dans ta mémoire ce que tu as appris pendant la journée.




*******************************

วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2551

les vêtements de femme

les vêtements de femme
le joyau jewel
l'alliance f wedding ring
le brillant diamond
la doublure lining (of shirt, coat, etc.)
le ruban ribbon
la toile cloth
l'étofff fabric
le coton cotton
le velours côtelé corduroy
le lin linen
la soie naturelle silk
le velours velvet
les dessins m ; les motifs m patterns
à carreaux checkered
à pois polka dotted
uni solid
rayé striped



*******************************

m.tokiya R-Raven Scrollbars By DollieLove.Com r-raven
ฟังเพลง - Friendship Forever